การติดต่อเชื่อมโยง - การจับตามองเทคโนโลยีในอนาคต

ในความจริงแล้ว LPWAN, NB-IoT และ LTE-M คือเทคโนโลยีเกี่ยวกับอะไร และเทคโนโลยีเหล่านี้มีประโยชน์ต่อการจัดการโลจิสติกส์ในอนาคตจริงหรือไม่ 

การเชื่อมโยงเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการโลจิสติกส์ในวันพรุ่งนี้

นอกจากเพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแล้ว การเชื่อมโยงยังสามารถสร้างข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์จากภายในห่วงโซ่อุปทาน ทีมงานปฏิบัติการหลายแห่งจากห้องทดลองบริษัทแดสเชอร์ กำลังศึกษาเพื่อยกระดับความเป็นไปได้ของ "Internet of Things" (IoT)หรือสิ่งสำคัญของอินเตอร์เน็ตในทางปฏิบัติ ทั้งนี้รวมถึงการใช้สมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชั่นรวมถึงเซ็นเซอร์ นวัตกรรมที่สามารถระบุข้อมูลตำแหน่งและสถานะอื่น ๆสำหรับการจัดส่งและทรัพย์สินต่างๆเช่นตัวแลกเปลี่ยนและตัวช่วยการบรรจุ

เครือข่ายสำหรับบริเวณกว้างโดยบริโภคพลังงานต่ำ (LPWANs) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สนับสนุน Internet of Things (IoT) โดยคลื่นความถี่วิทยุและโปรโตคอลใหม่เหล่านี้ ช่วยให้สามารถส่งผ่านข้อมูลเล็กน้อยในระยะยาว สิ่งนี้ทำให้เทคโนโลยี LPWAN เหมาะการใช้เซ็นเซอร์ในการขนส่งอย่างยิ่ง สำหรับการแก้ไขปัญหาของLPWAN ที่เป็นที่รู้จักกันดีนั้น ได้แก่ LoRa, Sigfox, LTE-M และ NarrowBand IoT (NB-IoT)

เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถคำนวณเวลาในการขนส่งและเวลาที่สินค้าที่มาถึงได้อย่างแม่นยำ

NB-IoT และ LTE-M นั้นถือว่าเป็นมาตรฐานการสื่อสารเคลื่อนที่โฉมใหม่ภายในเครือข่าย LTE (4G) ซึ่งปัจจุบันได้เปิดตัวแล้วในหลายประเทศทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่นการเปิดตัวเทคโนโลยีนี้ในประเทศเยอรมนี โดยมีการวาลแผนว่าจะมีการจำหน่าย NB-IoT ทั่วประเทศภายในปลายปีพ.ศ. 2562 ในขณะที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีการเปิดตัวเมื่อปีที่แล้วโดยเน้นการแสดงให้ใช้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ใช้พลังงานต่ำ มาตรฐานความปลอดภัยสูงซึ่งส่งผลทำให้ต้นทุนการการดำเนินงานลดลงอย่างมาก ทำให้การใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดตามตำแหน่งของทรัพย์สินและสิ่งที่ทำการฝากขาย ความสามารถในการกำหนดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ได้นั้น ทำให้ระบบสามารถคำนวณเวลาในการมาถึงยานพาหนะตู้สินค้าการจัดส่งและอื่น ๆ อีกมากมายได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น อาจเรียกได้ว่าเป็นข้อมูลเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ด้านอื่น รวมถึงช่วยในการวางแผนกำลังการผลิตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับกระบวนการที่จะเกิดขึ้นเช่นการขนถ่ายโดยรถบรรทุก

จุดแข็งของเทคโนโลยี LTE-M และ NB-IoT อื่นคือความสามารถในการรองรับการใช้งานของคลื่นความถี่วิทยุ การยกระดับมาตรฐานของคลื่นความถี่แบบ 5G โดยได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารรองรับการใช้งานของเครื่องจักรขนาดใหญ่ (mMTC) อย่างไรก็ตามกว่าที่ระบบต่างๆเหล่านี้จะเริ่มใช้งานได้จริงๆ จะต้องมีการสร้างระบบรองรับ 5G mMTC ก่อน และอีกเหตุผลสำคัญหนึ่งที่ทำให้มีการเปลี่ยนไปใช้ LTE-M และ NB-IoT คือจะมีการปิดตัวลงของเครือข่ายการสื่อสารประเภท 2G และ 3G ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยตอนนี้มีการยกเลิกการใช้งานของเครือข่าย2G และ 3G ไปแล้วในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสวิตเซอร์แลนด์

DACHSER ทั่วโลก
ติดต่อเรา
ติดต่อ Katrine Cheng